หนังสือ

หนังสือตั้งชื่อลูก ความหมายดี เสริมมงคล

หนังสือตั้งชื่อลูก

หัวข้อแนะนำ

หนังสือตั้งชื่อลูก  ชื่อที่ไพเราะ มีความหมายดี ย่อมทำให้เจ้าของชื่อรู้สึกภาคภูมิใจ นั่นเพราะชื่อถือเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นปัจเจกบุคคล นัยของชื่อก็ย่อมแฝงไว้ด้วยความหมายพลังแห่งรหัสตัวอักษร โดยเฉพาะการตั้งชื่อแรกนั้นจึงจำเป็นต้องพิถีพิถัน มีการเลือกเฟ้นจากหนังสือตั้งชื่อลูกและศาสตร์ความเชื่อต่าง ๆ เพื่อให้ได้ชื่อที่เหมาะสมกับลูก และในขณะเดียวกันชื่อนั้นก็ต้องบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของเจ้าของชื่อด้วยทั้งนี้ หนังสือตั้งชื่อลูกก็มีมากมายหลายประเภท เป็นเรื่องยากที่จะเลือกยึดถือเอาตำราใดตำราหนึ่ง ดังนั้น เราจึงได้รวบรวม 10 อันดับ หนังสือตั้งชื่อลูกเล่มที่ได้รับความนิยม มีทั้งการตั้งชื่อตามความหมายมงคล ตั้งชื่อตามวันเกิด และชื่อที่คิดขึ้นใหม่สำหรับเด็กยุคนี้ พร้อมแนะนำวิธีการเลือกหนังสือตั้งชื่อลูกให้ตรงกับความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ รับรองได้เลยว่า การตั้งชื่อให้กับเจ้าตัวเล็กจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไปครับ

วิธีการเลือก หนังสือตั้งชื่อลูก

หนังสือตั้งชื่อลูก  บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องการให้ลูกมีชื่อที่แปลกใหม่ มีความหมายหรือพยางค์ในชื่อที่คล้ายคลึงกับพ่อแม่ บ้างก็ต้องการตั้งชื่อให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หลักการเลือกหนังสือตั้งชื่อลูกนั้นจะยึดตามเพศของลูก วันเกิดและความหมายมงคลเป็นหลัก โดยมีหลักการต่อไปนี้ครับ

1.เลือกหนังสือตั้งชื่อลูกให้เหมาะสมกับเพศของลูกน้อย

โดยทั่วไปแล้วตำราการตั้งชื่อก็มักจะมีการกำหนดให้ชัดเจนอยู่แล้วว่าชื่อนี้เป็นของเพศใด ซึ่งหลักเกณฑ์พิจารณาว่าชื่อเป็นเพศหญิงหรือชายก็จะพิจารณาจากหลักบาลีสันสกฤตที่เรียกว่า “ลิงค์” ในคำแนะนำที่นำมาใช้ตั้งชื่อเป็นหลักหากเป็นชื่อไทยหรือชื่อที่ไม่ได้เป็นภาษาบาลีสันสกฤต ก็จะพิจารณาจากลักษณะการลากเสียง “ทีฆะ” หรือเสียงยาวในพยางค์สุดท้ายว่าเป็นชื่อของเพศหญิง ซึ่งในเพศชายจะใช้เสียงสั้นหรือเสียง “รัสสะ” เช่น “อัจฉริยะ” เป็นชื่อเพศชาย ส่วน “อัจฉริยา” เป็นชื่อเพศหญิง เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนี้หนังสือตั้งชื่อลูกแทบทุกฉบับจะมีการกำหนดเพศไว้ให้ในชื่ออย่างชัดเจนอยู่แล้ว ทำให้เลือกชื่อจากหนังสือได้สะดวกยิ่งขึ้นครับ

2.เลือกหนังสือตั้งชื่อลูกประเภทหนังสือตั้งชื่อมงคล

หนังสือตั้งชื่อลูกทุกฉบับล้วนสรรหาชื่อมงคลที่ถูกต้องตามหลักนามศาสตร์ ซึ่งหากผู้ตั้งชื่อยังไม่ชอบชื่อที่ตำรากำหนดมาให้ก็จะมีสูตรการคำนวณโดยใช้ “วรรคบาลี” ซึ่งมีทั้งสระและพยัญชนะในการใช้คำนวณสูตรการตั้งชื่อ ทำให้มีอิสระในการเลือกชื่อลูกได้มากและทันสมัยยิ่งขึ้น ลดปัญหาการเกิดชื่อซ้ำกันได้เป็นอย่างดีครับ

ตั้งชื่อตามวันเกิด

วิธีการตั้งชื่อตามวันเกิดนี้จะเลือกเอากลุ่มอักษรที่เป็นอักษรหลักในวันเกิดหรืออักษรซึ่งเป็นมงคลในวันเกิด ซึ่งจะแบ่งเป็นอักษรในหมวดหมู่บริวาร, อายุ, เดช, ศรี, มูลละ, อุตสาหะ, มนตรี, กาลกิณี เป็นต้น ซึ่งการตั้งชื่อจะจัดเรียงลำดับความสำคัญตามที่ผู้ตั้งต้องการให้เป็น แต่จะหลีกเลี่ยงอักษรที่เป็นกาลกิณีเอาไว้ไม่ใช้ในการตั้งชื่อการตั้งชื่อลักษณะนี้จะให้ความสำคัญในการลำดับอักษร เช่น หากต้องการเน้นด้านสุขภาพก็จะเอาอักษรที่เป็นอายุขึ้นก่อน หากต้องการเน้นด้านการงานก็อักษรที่เป็นมนตรีหรืออุตสาหะขึ้นก่อน หากต้องการเน้นด้านอำนาจก็ให้เอาอักษรที่เป็นเดชขึ้นแล้วตามด้วยบริวาร เป็นต้น การตั้งชื่อลักษณะนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการตั้งชื่อในภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งใช้ในการตั้งสังฆฉายาหรือฉายาของพระภิกษุสงฆ์นั่นเองครับ

ตั้งชื่อตามความหมาย

หนังสือตั้งชื่อลูกลักษณะนี้จะเน้นความหมายของชื่อและส่วนประกอบของชื่อเป็นหลัก โดยจะยึดถือเอา “ศุภนิมิต” หรือเหตุบ่งชี้อันเป็นมงคลของทารกมาเป็นตัวกำหนดด้วย เช่น ทารกที่เกิดในวันที่มีการประกาศข่าวชัยชนะสงครามก็จะตั้งชื่อว่า ชนะชัย เฉลิมชัย ชนะชน เป็นต้น การตั้งชื่อตามความหมายยังมีลักษณะการตั้งแบบกลอักษร ซึ่งมีทั้งแบบใช้ชื่อของบิดามารดามารวมกันเป็นชื่อลูก และแบบกลอักษรสองความหมายในหนึ่งชื่อแบบที่ใช้ชื่อบิดามารดา หากเป็นลูกสาวจะเอาชื่อของบิดาขึ้นต้น หากเป็นลูกชายจะเอาชื่อของมารดาขึ้นต้น เช่น บิดาชื่ออนุพงษ์ มารดาชื่อปริณา ก็ตั้งชื่อลูกสาวว่า “อนุสณา” หากเป็นลูกชายก็อาจตั้งชื่อว่า “ปริพงษ์” นั่นเองกลอักษรสองความหมายในหนึ่งชื่อ เช่น ชนาณัฏฐ์ หากแปลในรูปสมาส (ชนะ+ณัฏฐ์) แปลได้ว่า “ชัยชนะแห่งผู้เป็นนักปราชญ์” หากแปลความหมายในรูปการสนธิ (ชนะ+อาณา+อัฏฐ์) จะแปลได้ว่า “ผู้ชนะ 8 ทิศ”จะเห็นได้ว่าการตั้งชื่อตามความหมายโดยอาศัยกลอักษรจะมีความแยบยลและทำได้ยากที่สุด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์แห่งบุคคลได้ดีที่สุดในบรรดาการตั้งชื่อทั้งหมดครับ

3.เลือกหนังสือตั้งชื่อลูกตามตำราโบราณ

ในอดีตตําราการตั้งชื่อถูกบอกต่อกันในเชิงมุขปาฐะ เป็นเรื่องเล่าปากต่อปากที่ครูแต่ละสำนักถ่ายทอดให้ศิษย์ ซึ่งในภายหลังมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรตามสมุดข่อย สมุดไทย ใบลานต่าง ๆ จนมาถึงยุคปัจจุบันที่มีการรวบรวมและตีพิมพ์เป็นหนังสือตั้งชื่อลูกที่อิงตามตำราโหราศาสตร์ โดยสามารถจำแนกสายตำราตามลักษณะองค์ความรู้ของแต่ละภูมิภาค  หนังสือตั้งชื่อลูก